Category Archives: ธุรกิจ

การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

การผลิตก๊าซชีวภาพส่วนใหญ่จะแยกตามแหล่งที่มาของน้ำเสีย ได้แก่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ของเสียจากอุตสาหกรรมขยะมูลฝอยและครัวเรือน ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจะใช้กระบวนการย่อยสลายทางชีววิทยาแบบไม่ใช้อากาศ ภายในบ่อหมัก โดยแบ่งตามอัตราการย่อยสลายอินทรีย์ ได้ 2 ระดับ คือ อัตราการย่อยสลายอินทรีย์ต่ำ และสูงสำหรับมูลสัตว์ 1. บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบช้า มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ -แบบโดมคงที่ (Fixed dome digester) -แบบฝาครอบลอย (Floating drum digester) -แบบรางขนาน (Plug flow digester) ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบพลาสติกคลุมบ่อดิน (Cover lagoon) แบบพลาสติกคลุมราง บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบช้าจะต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งอุปกรณ์มาก เพราะต้องใช้เวลาในการกักเก็บน้ำสูง … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

ก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ

ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ก่อกำเนิดและสะสมตัวอยู่ใต้ผิวโลกนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างโมเลกุลของสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบ บางแหล่งประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนจำพวกมีเทนอย่างเดียว บางแหล่งประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนผสมกันหลายชนิด อันได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เฮกซ์เซน และอื่น ๆ สัดส่วนขององค์ประกอบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของก๊าซแต่ละแหล่งที่พบ ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ดังนั้นกระบวนการแยกจึงมิได้เพียงเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีก ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งประกอบด้วยโพรเพน และบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถ และอุตสาหกรรม แก๊สโซลีนธรรมชาติ ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซิน ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะใช้สำหรับเตาเผา หม้อต้มน้ำ และเครื่องจักรไอน้ำ ส่วนก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็เพื่อผลิตปุ๋ย พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ

ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

สินค้าเกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ และน้ำมันปาล์ม สินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณภาพต่ำกว่า เพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการเพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้านคุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำมการชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่ายน้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก และมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นทั้งต่อความมั่นคงทางพลังงานและความมั่นคงทางอาหารของไทย ความละเลยการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้ และการแข่งขันจากการเปิดเสรีทางการค้าที่กำลังจะมาถึง จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ โดยเวลาที่เหลืออยู่ก่อนที่ AEC จะเปิดเสรีไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยให้แข่งขันได้ ณ เวลานี้เราทำได้แต่เพียงบรรเทาผลกระทบมิให้รุนแรงมากเกินไปเท่านั้น แต่ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมากยังขาดความตื่นตัวหรือความเข้าใจถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้ส่งสัญญาณให้ประชาชนทราบถึงภัยคุกคามนี้ … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ผลกระทบน้ำมันปาล์มในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

การเติบโตของตลาดน้ำมันระหว่างประเทศต่างๆ

พลังงานต่างๆมีความสำคัญต่อมนุษย์ หากขาดพลังงานเมื่อไรจะมีผลต่อการอยู่รอดของมนุษย์ทันที ปัจจุบันมีพลังงานมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคงจะเป็น พลังงานน้ำมัน พลังงานกำลังจะหมดไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงการเป็นเจ้าของในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐกำลังจะเปิดศึกรับอิรัก โดยมีฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน และจีนประกาศขยายน่านน้ำห่างฝั่งหลายพันไมล์ ไปจนจดชายฝั่งอินโดนีเซีย ก็เพราะหวังครอง แหล่งน้ำมันในทะเลจีนใต้ โดยมีตลาดกลางในการส่งออกคือนครฮิวสตันเท็กซัส การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว ความต้องการน้ำมันเพื่อสร้างความอบอุ่นจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นรุนแรงกว่าปกติ และในฤดูร้อนความต้องการด้านเชื้อเพลิงในการท่องเที่ยวก็สูงมากขึ้นด้วย ในขณะนี้เริ่มมีการสร้างพลังงานเพื่อทดแทนน้ำมันที่สูญเสียไป ลดการใช้พลังงานน้ำมันดิบ และลดการทำสงครามช่วงชิงน้ำมันระหว่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันของประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานร่วมขึ้นชื่อ Economic Liaison Committee ทำหน้าที่รับผิดชอบเปิดการเจรจาทางการทูต กับประเทศตะวันออกกลางและเขตอื่นๆ เพื่อสนับสนุนบริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การเติบโตของตลาดน้ำมันระหว่างประเทศต่างๆ

ปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันในอุตสาหกรรมไทย

ราคาของตลาดอุตสาหกรรมน้ำมันจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น และราคาขายปลีก ทำให้ราคามีการขึ้นลงอยู่ตลอดตามต้นทุนที่เปลี่ยนไปหรือการประกาศราคาของโรงกลั่น โดยช่วงก่อนยกเลิกควบคุมราคาขายปลีก แม้รัฐบาลจะควบคุมราคาขายปลีกให้อยู่ในระดับคงที่เป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง การกำหนดราคาของโรงกลั่นมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ตามราคาตลาดโลกที่เปลี่ยนไป ถึงแม้รัฐจะแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบกองทุนน้ำมันเพื่อรักษาราคาขายส่งให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ซึ่งโรงกลั่นจะเป็นผู้กำหนดราคา จึงทำให้ราคาขายปลีกมีการเปลี่ยนแปลงมาก อีกทั้งน้ำมันในไทยยังจำเป็นต้องนำเข้าเชื้อเพลิงในรูปแบบของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วน ดังนั้นราคาน้ำมันในไทยจะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นสำคัญ เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยรัฐกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น และอัตรากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแต่ละชนิด ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้า จึงใช้หลักการของความเสมอภาคในการนำเข้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้นำเข้าโดยหลักเกณฑ์การกำหนดราคาจะอ้างอิงตามการเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในช่วงดังกล่าว ตลาดในสหรัฐอเมริกา ตลาดยุโรป ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดสิงคโปร์ เป็นตลาดที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายหรือตกลงราคาน้ำมันของภูมิภาคนั้นๆ โดยคิดราคาจากความต้องการและปริมาณในการผลิตในภูมิภาคนั้นๆ จึงปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางและระดับเดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว อุปสงค์และอุปทานในภูมิภาคนั้นๆ ยังมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในบางตลาดอาจปรับตัวแตกต่างจากตลาดอื่น ในปัจจุบันการที่โรงกลั่นต้องแข่งขันการนำเข้าจากต่างประเทศ ภาวะกำลังการกลั่นล้นตลาดของภูมิภาค ก็มีผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของภูมิภาคเอเซียอยู่ในภาวะอ่อนตัวเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบ … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันในอุตสาหกรรมไทย

เชื้อเพลิงอุตสาหกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมไทย

ปตท. เป็นผู้นำในการให้บริการผลิตภัณฑ์มากมายเพื่อการอุตสาหกรรมพร้อมผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และการเลือกใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ 1. น้ำมันเตาชนิดที่ 1 หรือเตา A หรือ เตา 600 (Fuel oil 600, 2%sulphur) เป็นน้ำมันเตาที่มีคุณภาพสูง มีความหนืดต่ำ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กและธุรกิจอื่นๆ เช่น โรงแรมหรือ โรงพยาบาล ในเขตชุมชน ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจาก สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์ และมีเขม่าต่ำ 2. น้ำมันเตาชนิดที่ 2 หรือเตา C หรือ เตา 1500 (Fuel oil 1500, 2%sulphur) เป็นน้ำมันเตาที่มีความหนืดปานกลาง … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on เชื้อเพลิงอุตสาหกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมไทย

วิกฤตการณ์น้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญในหลายประเทศ

น้ำมันเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่งซี่งมีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายของผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดน้ำมัน จึงทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปรับราคาให้สามารถแข่งขันกันได้ ดังนั้นราคาน้ำมันที่เหมาะสมเพื่อใช้อ้างอิงจึงควรจะกำหนดมาจากความต้องการและความสามารถในการผลิต ภายใต้กลไกระบบการค้าเสรีของกลุ่มตลาดซื้อขายน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียงกัน คล้ายกับสินค้าทางการเกษตร สำหรับศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันเมื่อปี พ.ศ. 2516 หลายๆประเทศได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับบางประเทศถือว่าเป็นประเด็นปัญหาในช่วงสั้นๆที่เกิดวิกฤตเท่านั้น แต่สำหรับบางประเทศกลายเป็นปัญหาในการจัดการพลังงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันไม่ใช่ประเทศผู้นำเข้าพลังงานเพียงฝ่ายเดียวที่จะต้องคำนึงถึงการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงเท่านั้น แม้แต่ประเทศผู้ส่งออกพลังงานหลายๆประเทศก็เริ่มห่วงใยถึงอนาคตว่า สักวันหนึ่งประเทศของตนอาจกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานก็ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีความร่วมมือทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชนในระดับประเทศ รวมไปถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยเหลือและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานซึ่งกันและกัน ประเทศไทยอยู่ในสถานะเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน ดังนั้นความมั่นคงด้านพลังงานจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ การเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน มาตรการในการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพลังงานโดยลดการใช้น้ำมันลงและเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น จะมีส่วนช่วยเสริมการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืนได้มาก การพึ่งพาพลังงานต้องให้ความสำคัญกับการกระจายชนิดและแหล่งของพลังงาน เพราะการพึ่งพาพลังงานชนิดเดียวมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ถ่านหินเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มีปริมาณสำรองมาก มีความมั่นคง … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on วิกฤตการณ์น้ำมันเป็นบทเรียนที่สำคัญในหลายประเทศ

เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จ

ประเทศไทยมีการจำกัดการผลิตและสำรองน้ำมันภายในประเทศ ดังนั้นการนำเข้าน้ำมันจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการสำรองก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก แต่การผลิตก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีกทั้งการผลิตน้ำมันของไทยถึงจะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าการบริโภค โดยที่ 80% ของการผลิตน้ำมันของประเทศมาจากแถบอ่าวไทย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันจะต้องใช้ท่อลำเลียงน้ำมันมูลค่าหลายล้านล้านดอลล่าร์มาเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นความท้าทายที่อุตสาหกรรมจะต้องเอาชนะต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบของธุรกิจ และนี่คือ 4 เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการวางแผนโครงสร้างเงินทุน การออกแบบ การสร้างและการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1.เรียลลิตี้คอมพิวติ้ง – ด้วยเรียลลิตี้แคปเจอร์ผสมกับสภาพแวดล้อมจริง เทคโนโลยีได้ลดช่องว่างระหว่างความเป็นจริงและโลกดิจิตอลให้ใกล้กันยิ่งขึ้น สองกุญแจสำคัญของเรียลคอมพิวติ้ง คือ เรียลลิตี้แคปเจอร์และการเพิ่มความแม่นยำของสภาพแวดล้อมแบบดิจิตอล โดยอย่างแรก เรียลลิตี้แคปเจอร์ เป็นกระบวนการใช้ภาพถ่ายดิจิตอล LIDAR เลเซอร์สแกนและดาต้าเซ็ทแคปเจอร์อื่นๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นภาพของสภาพแวดล้อมจริง เพื่อช่วยสร้างโปรเจคโมเดล 3 มิติ ซึ่งเป็นการเปิดประตูไปสู่การสร้างแบบจำลองบนความเป็นจริงด้วยการจับภาพที่แม่นยำจากสิ่งที่มีอยู่ อีกอย่างคือ ความก้าวหน้าในด้านความแม่นยำของสิ่งแวดล้อมดิจิตอล คอมพิวเตอร์อินเตอร์เฟซจะมีความสามารถในการจำลองภาพที่เหนือกว่า ซึ่งจะช่วยเร่งผลผลิต ปรับปรุงการสื่อสารในโครงการขนาดใหญ่และช่วยเร่งกระบวนการเรียนรู้ให้แก่พนักงานใหม่ … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะมาช่วยอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซให้ประสบความสำเร็จ

การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร

การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา ส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นในสินค้าอุปโภค เช่น ขนมขบเคี้ยว ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง(น้ำหอม และสิ่งปรุงแต่งสำหรับผม) ความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจสินค้าประเภทตกแต่งกลิ่นจากสารสกัดจากธรรมชาติมากขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารตกแต่งกลิ่นสังเคราะห์โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง และมีการใช้น้ำมันหอมระเหยในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าจับตามอง แม้ว่าในปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ แต่การขยายตัวของการส่งออกน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมานี้อยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากตลาดน้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์เป็นตลาดเฉพาะ นับว่ายังเป็นโอกาสของไทยในการเจาะโลก และผลักดันให้น้ำมันหอมระเหยของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันน้ำมันหอมระเหยได้จากการสกัด/สังเคราะห์จากพืชหรือสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3,000 ชนิด อย่างไรก็ตามมีน้ำมันหอมระเหยเพียง 200-300 ชนิดเท่านั้นที่มีการค้ากันอย่างกว้างขวางในตลาดโลก โดยน้ำมันหอมระเหยที่มีการผลิตและการค้าในตลาดโลกนั้นร้อยละ 50 ผลิตมาจากพืชที่มีการปลูกในเชิงพาณิชย์ ส่วนที่เหลือเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมและเก็บจากพืชพรรณป่า โดยน้ำมันหอมระเหยที่มีการผลิตและการค้ากันอย่างกว้างขวางในตลาดโลก 10 ประเภทแรกนั้น (น้ำมันหอมระเหยจากพืชตระกูลส้ม, Cornmint, ยูคาลิปตัส, … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on การใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร

การทำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพ

ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชเมล็ดน้ำมัน (oilseed) ทั่วโลกกว่า 254 ล้านเฮกเตอร์ทั่วโลก แต่สามารถสร้างผลผลิตได้ราวร้อยละ 14 ของผลผลิตน้ำมันจากพืชทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศมาเลเซียในการพัฒนาการเกษตรให้ได้ผลิตผลต่อไร่สูง นอกจากนี้ มาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของโลก ยังมีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจปาล์มน้ำมัน ได้แก่ Sime Darby และ FELDA ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านปาล์มที่ใหญ่ที่สุดสองรายแรกของโลกด้วย ความน่าสนใจของ FELDA คือการสร้างแหล่งปลูกปาล์มโดยที่เกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างมาก FELDA เป็นของรัฐบาล และแรกเริ่มจัดตั้งในช่วงทศวรรษ 1960 โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดสรรเนื้อที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่มีรายได้น้อยและอาศัยอยู่ในชนบท จะได้มีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หรือพืชยางพารา (ใช้เนื้อที่ราวร้อยละ 80 สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และร้อยละ 10 สำหรับปลูกพืชยางพารา) โดยเกษตรกรราว 400 – … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Comments Off on การทำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพ

ทิศทางการส่งออกน้ำมันและก๊าซจากไทยไปต่างประเทศ

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความต้องการในการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทของน้ำมันและผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแปรรูปน้ำมันดิบ ดังนั้นจึงมีบริษัทธุรกิจการค้าต่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย เช่น บริษัท ปตท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ที่มีการลุงทุนในโรงกลั่นของประเทศไทย ที่สร้างความมั่นคงและรักษาสมดุลทางพลังงาน เช่น การนำเข้าก๊าซ LPG ส่วนที่เกินจากกำลังการผลิตภายในประเทศเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ยังส่งออกน้ำมันก๊าซที่เกินจากความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยต้องมีการติดตามอยู่เสมอ ในด้านภาคธุรกิจเองจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงราคาท่ามกลางสภาวะตลาดน้ำมันที่มีผันผวนสูง เพื่อผลักดันให้การส่งออกมีมูลค่าสูงสุด นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูป ยังแสวงหาโอกาสในการเป็นตัวกลางในการทำการค้ากับตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ ยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ ความชำนาญ เพื่อก้าวไปสู่ตลาดสากลในอนาคต ปัจจุบันนี้จึงมีเครือข่ายและพันธมิตรการค้าอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยจะมีการขยายตัวเรื่อยๆในอนาคต โดยมีปัจจัยหลายๆด้านเป็นตัวสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตามประเทศยังต้องอาศัยการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศถึงแม้ว่าไทยจะมีตลาดน้ำมันที่แข็งแกร่งก็ตาม นอกจากนี้นักวิชาการยังยืนยันว่าไทยจะมีศักยภาพมากขึ้น เนื่องจากมีการสร้างโรงกลั่นมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ๆในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับด้านการผลิตโดยเฉพาะ รวมทั้งไทยยังมีเครือข่ายกับผู้นำด้านอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ทำให้ไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและปัญหาต่างๆได้อย่างดี นอกจากนี้คนในประเทศเองต้องตะหนักถึงความสำคัญในการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถือเป็นสิ่งมีค่าของเราทุกคน อีกทั้งความต้องการพลังงานมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกๆปี … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ทิศทางการส่งออกน้ำมันและก๊าซจากไทยไปต่างประเทศ

ความสำคัญและการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน

จากการเปิดเผยผลการประเมินตำแหน่งตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (AEC) ของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งพบว่าภายใน 5 ปีนับจากปี 2553 จนถึงปี 2558 สินค้าเกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ และน้ำมันปาล์ม ส่วนมันสำปะหลังไทยจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้นสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณภาพต่ำกว่า เพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า ในความเป็นจริง การขาดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นักวิชาการได้สะท้อนปัญหานี้มาเป็นเวลานานแล้ว งานวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงเป็นการย้ำเตือนถึงปัญหานี้และนำเสนอหลักฐานในเชิงประจักษ์ที่สะท้อนความรุนแรงของปัญหานี้ ผมเองได้เขียนหนังสือ ‘เศรษฐกิจกระแสกลาง: ทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต’เมื่อปี 2543 หรือกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบุว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นตัวอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต้องเปิดเสรีมากขึ้นและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ผมจึงได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมว่า สินค้าที่แข่งขันไม่ได้ควรเลิกผลิตไปเลย … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on ความสำคัญและการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน

การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในสมัยก่อนจนมาถึงปัจจุบัน

ในช่วงแรกๆการจุดไฟให้แสงสว่างจะใช้น้ำมันสัตว์หรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงจนกระทั่งปี 1839 แซมมวล มาร์ติน คีร์ ซึ่งเป็นเจ้าของเหมืองเกลือใกล้เมืองทาเรนตัม รัฐเพนซินวาเนีย พบว่าน้ำเกลือที่เขาสูบขึ้นมามีน้ำมันข้นๆ ดำๆ ปนขึ้นมาด้วย ทำให้สกปรกเขาจึงนำไปทิ้งลงคลอง เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะนำน้ำมันข้นๆ ดำๆ นั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้ ต่อมามีเด็กคนหนึ่งได้โยนคบเพลิงลงคลองเล่น ปรากฏว่าน้ำมันในคลองติดไฟยาวถึงครึ่งไมล์ ผู้คนจึงรู้น้ำมันที่เขาทิ้งลงคลองเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และเริ่มนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับตะเกียง ถึงแม้ว่าจะมีควันและเหม็น แต่ก็ให้แสงที่สว่างกว่าและฟรีอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าเมืองทาเรนตัมจึงเป็นเมืองแรกในสหรัฐที่ใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงของตะเกียง ในปี ค.ศ. 1854 แซมมวล มาร์ติน คีร์ จึงเริ่มหาทางขายน้ำมันของเค้า และพยามแก้ปัญหาเรื่องควันและกลิ่นที่เหม็นของน้ำมัน โดยนำน้ำมันดังกล่าวมากลั่นเพื่อที่จะได้น้ำมันสำหรับตะเกียงอย่างดี เขาผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เรียกว่า คาร์บอนออยล์ แต่น้ำมันที่ได้ยังมีคุณภาพเลว แม้จะนำมากลั่นถึง 2 ครั้งแล้วก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกันทนายความหนุ่มคนหนึ่งชื่อ บิเซลล์ ได้เก็บตัวอย่างน้ำมันมาจากลำธาร และส่งตัวอย่างน้ำมันไปให้ศาสตราจารย์ที่มหาลัยเยล … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged | Comments Off on การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในสมัยก่อนจนมาถึงปัจจุบัน

การดำเนินธุรกิจผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นธุรกิจที่ดีเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ

ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมและทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานามาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ให้ทั้งความร้อนและแสงสว่าง ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการคมนาคมขนส่งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม หรือใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และยังสามารถนำมาใช้ในระบบทำความเย็นได้ด้วย โดยทั่วไป ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70  ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน  จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์  ไนโตรเจน  และน้ำ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย คุณสมบัติทางกายภาพของก๊าซธรรมชาติ – … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on การดำเนินธุรกิจผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นธุรกิจที่ดีเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ

การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งภายในประเทศ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ

การผลิตน้ำมันและการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ที่มีอยู่ภายในประเทศ โดยในช่วงแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าน้ำมันเตา ต่อมามีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการส่งออกปิโตรเคมี และเมื่อประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าและในอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าขึ้น ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนถูกที่สุดในการช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศ การเปิดเสรีตลาดการค้าโลกส่งผลให้ประเทศไทยต้องสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน โดยพึ่งพาแหล่งพลังงานภายในประเทศที่มีอยู่ ซึ่งแหล่งพลังงานทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สหภาพพม่า และกัมพูชา ล้วนมีแหล่งก๊าซธรรมชาติ มากกว่าแหล่งน้ำมัน ดังนั้น นอกจากจะพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากภายในประเทศแล้ว ก็จำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในการร่วมกันพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ เมื่อการจัดหาและระบบเครือข่ายท่อก๊าซธรรมชาติเพียงพอแล้ว ควรส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มที่ รวมทั้งการใช้ในยานพาหนะซึ่งจะไม่มีปัญหาด้านมลภาวะ ประเทศไทยก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันจากตลาดโลก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีแหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่เช่นในตะวันออกกลางหรือในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย แต่ประเทศไทยก็นับว่ายังโชคดีที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติภายในประเทศแหล่งใหญ่ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการนำมาพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านเราอีกหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย แหล่งก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยส่วนใหญ่พบในอ่าวไทยและการขนส่งต้องส่งผ่านทางท่อใต้ทะเล ปัจจุบันมีบริษัทหลายแห่งเข้าไปดำเนินการสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานเหล่านี้เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น … Continue reading

Posted in ธุรกิจ | Tagged , | Comments Off on การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งภายในประเทศ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ